คำขวัญอำเภอราชสาส์น
อำเภอราชสาส์น ตำนานเมืองเก่า ใบโพธิ์สีขาว ข้าวหอมมะลิ
ประวัติความเป็นมาของอำเภอ
ตามนิทานพื้นบ้านเรื่องพระรถเมรีเล่าว่า นางยักษ์แม่ของนางเมรีได้ฝากสารไปกับพระรถเสนไปให้นางเมรีโดยห้ามเปิดสารระหว่างทาง ใจความของสารนั้นคือ ถ้าถึงกลางวันให้กินตอนกลางวัน ถ้าถึงตอนกลางคืนให้กินตอนกลางคืน (ให้บริวารของพวกยักษ์กินพระรถเสนเมื่อไปถึง) เมื่อถึงตำแหน่งที่เป็นอำเภอราชสาส์นในปัจจุบัน พระรถเสนได้พักอยู่กับฤๅษีซึ่งเป็นอาจารย์ของตน พระฤๅษีก็แอบเปิดสารดูจึงแปลงสารจากคำว่า “กิน” เป็นคำว่า “รับ” บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า “ราชสาส์น” ซึ่งแปลว่าจดหมายนั่นเอง
อำเภอราชสาส์นเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมสารคาม ได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอราชสาส์น ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
ตามนิทานพื้นบ้านเรื่องพระรถเมรีเล่าว่า นางยักษ์แม่ของนางเมรีได้ฝากสารไปกับพระรถเสนไปให้นางเมรีโดยห้ามเปิดสารระหว่างทาง ใจความของสารนั้นคือ ถ้าถึงกลางวันให้กินตอนกลางวัน ถ้าถึงตอนกลางคืนให้กินตอนกลางคืน (ให้บริวารของพวกยักษ์กินพระรถเสนเมื่อไปถึง) เมื่อถึงตำแหน่งที่เป็นอำเภอราชสาส์นในปัจจุบัน พระรถเสนได้พักอยู่กับฤๅษีซึ่งเป็นอาจารย์ของตน พระฤๅษีก็แอบเปิดสารดูจึงแปลงสารจากคำว่า “กิน” เป็นคำว่า “รับ” บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า “ราชสาส์น” ซึ่งแปลว่าจดหมายนั่นเอง
อำเภอราชสาส์นเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมสารคาม ได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอราชสาส์น ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
ลักษณะภูมิประเทศ :
อำเภอราชสาส์น มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองธรรมชาติสำคัญไหลผ่าน คือ คลองท่าลาด คลองคูมอญ และคลองน้ำเตียน
อำเภอราชสาส์น มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองธรรมชาติสำคัญไหลผ่าน คือ คลองท่าลาด คลองคูมอญ และคลองน้ำเตียน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอราชสาส์น ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 53 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอพนมสารคาม
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอแปลงยาว และอำเภอบางคล้า
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอบางคล้า
พื้นที่ : 134.9 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 12,713 คน (พ.ศ. 2563)
ความหนาแน่น : 95 คน / ตารางกิโลเมตร
การปกครองส่วนภูมิภาค : อำเภอราชสาส์น แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน
อำเภอราชสาส์น ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 53 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอพนมสารคาม
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอแปลงยาว และอำเภอบางคล้า
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอบางคล้า
พื้นที่ : 134.9 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 12,713 คน (พ.ศ. 2563)
ความหนาแน่น : 95 คน / ตารางกิโลเมตร
การปกครองส่วนภูมิภาค : อำเภอราชสาส์น แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน
ประชากร(คน) | บ้าน(หลัง) | ||||
ชาย | หญิง | รวม | |||
รวมจังหวัดฉะเชิงเทรา | 350,690 | 364,319 | 715,009 | 297,362 | |
อำเภอราชสาส์น | 6,236 | 6,477 | 12,713 | 4,602 | |
ตำบลบางคา | 1,073 | 1,016 | 2,089 | 906 | |
หมู่ที่ 1 | ไผ่ขวาง | 196 | 213 | 409 | 224 |
หมู่ที่ 2 | ราชสาส์น | 228 | 209 | 438 | 215 |
หมู่ที่ 3 | บางคา | 128 | 155 | 283 | 110 |
หมู่ที่ 4 | เตาอิฐ | 248 | 218 | 466 | 181 |
หมู่ที่ 5 | ดอนทอง | 120 | 103 | 223 | 76 |
หมู่ที่ 6 | จรเข้ตาย | 153 | 118 | 271 | 100 |
ตำบลเมืองใหม่ | 1,520 | 1,601 | 3,121 | 1,163 | |
หมู่ที่ 1 | บางคา | 211 | 218 | 429 | 171 |
หมู่ที่ 2 | ไผ่กลึง | 146 | 146 | 292 | 88 |
หมู่ที่ 3 | กกสับใน | 80 | 87 | 167 | 67 |
หมู่ที่ 4 | กกสับนอก | 254 | 257 | 511 | 167 |
หมู่ที่ 5 | หนองขอน | 175 | 182 | 357 | 190 |
หมู่ที่ 6 | หนองช้างตาย | 228 | 262 | 490 | 155 |
หมู่ที่ 7 | หนองแหน | 157 | 206 | 363 | 147 |
หมู่ที่ 8 | บางพุทรา | 141 | 140 | 281 | 92 |
หมู่ที่ 9 | ไผ่สอ | 128 | 103 | 231 | 86 |
ตำบลดงน้อย | 3,643 | 3,860 | 7,503 | 2,533 | |
หมู่ที่ 1 | ตลาดดงน้อย | 310 | 340 | 650 | 322 |
หมู่ที่ 2 | หนองจอก | 248 | 264 | 512 | 156 |
หมู่ที่ 3 | หมู่ไผ่ | 219 | 211 | 430 | 126 |
หมู่ที่ 4 | หนองโบสถ์ | 308 | 311 | 619 | 190 |
หมู่ที่ 5 | หน้าวัดใต้ | 339 | 369 | 708 | 262 |
หมู่ที่ 6 | หน้าวัดเหนือ | 338 | 341 | 679 | 212 |
หมู่ที่ 7 | ยางปุ่ม | 290 | 343 | 633 | 204 |
หมู่ที่ 8 | วังกะทุ่ม | 122 | 148 | 270 | 90 |
หมู่ที่ 9 | ท่าโพธิ์ | 219 | 231 | 450 | 142 |
หมู่ที่ 10 | น้ำฉ่า | 167 | 177 | 344 | 162 |
หมู่ที่ 11 | สะแกงาม | 70 | 62 | 132 | 54 |
หมู่ที่ 12 | ทางข้าม | 180 | 186 | 366 | 115 |
หมู่ที่ 13 | ต้นกันเกรา | 298 | 294 | 592 | 165 |
หมู่ที่ 14 | หินดาษ | 160 | 205 | 365 | 117 |
หมู่ที่ 15 | ไผ่งาม | 127 | 137 | 264 | 74 |
หมู่ที่ 16 | หนองโบสถ์ใหญ่ | 248 | 241 | 489 | 142 |